และเมื่อเราเลือกรูปแบบการฝึกที่เหมาะสมแล้ว ขั้นต่อไปเป็นการเลือกเทคโนโลยีการฝึก อันประกอบไปด้วยเทคนิค และระเบียบวิธีการฝึกที่สัมพันธ์กันกับรูปแบบการฝึก เช่น หากเราเลือกรูปแบการฝึกที่เน้นทักษะพิสัย(Skill Oriented) เทคนิคและระเบียบวิธีการฝึกในหลักสูตรหรือหน่วยการฝึกนั้นๆ ก็ต้องเลือกเทคนิคการฝึกที่เน้นการปฏิบัติอย่างเป็นระเบียบขั้นตอนตามอาชีพหรืองานนั้นๆ ที่เกิดขึ้นจริงในสถานประกอบการ หรือ เวลาปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรม
ดังนั้นเหตุนี้จึงต้องให้ผู้เชี่ยวชาญในงานนั้นๆ ที่มีประสบการณ์เพียงพอเป็นผู้กำหนดลักษณะ ขั้นตอนในการปฏิบัติงาน รวมถึงการวิเคราะห์ทักษะ(Skill)ที่ต้องใช้ ความรู้(Knowledge)ที่ใช้ประกอบเพื่อส่งเสริมให้การปฏิบัติงานเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด รวมถึงลักษณะเฉพาะบุคคล(Attibute)อันเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในตำแหน่งหรืออาชีพนั้นๆ ประกอบกัน
ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการฝึกและเทคนิค ระเบียบวิธีการฝึก(Methodology and Technique) จากที่กล่าวมาสามารถจิตนาการโครงสร้างความคิด ได้ดังต่อไปนี้

จากโครงสร้างแนวคิดนี้ พออสรุปขั้นตอนได้ดังนี้
หลังจากที่ผู้รับการฝึก(Trainee) ผ่านการแนะแนวการฝึก และรู้หน่วยการฝึกหรือหลักสูตรที่ตนเองฝึกแล้ว ครูฝึกหรือผู้ทำการฝึกต้องดำเนินการดังนี้
1. นำหน่วยการฝึก หรือหลักสูตรการฝึกมาพิจารณาวัตถุประสงค์ปลายทาง หรือสมรรถนะปลายทาง (Outcome) เพื่อพิจารณาเลือกรูปแบบการฝึก (Training Model) เช่น หากผลลัพธ์ปลายทางที่ต้องการคือด้านทักษะ ความสามารถทางร่างกาย เช่น ผู้รับการฝึกจะต้องเดินสายไฟฟ้าภายในอาคาร ที่มีระยะทาง 10 เมตร พร้อมติดตั้งระบบไฟฟ้าแสงสว่างโดยใช้สวิตซ์ 2 ทาง ไปตามทางเดินบรรไดเพื่อให้แสงสว่างในยามค่ำคืน. ครูฝึกหรือผู้เชี่ยวชาญจะต้องเลือกรูปแบบการฝึกที่เน้นสมรรถนะ(Competency-based Training)
2. เมื่อเลือกรูปแบบการฝึกสอดคล้องกับสมรรถนะปลายทางของหน่วยการฝึก หรือ หลักสูตรการฝึกแล้ว คือรูปแบบการฝึกที่เน้นสมรรถนะ(Competency-based Training)
3. ครูฝึก หรือผู้เชี่ยวชาญต้องเลือกเทคโนโลยีการฝึก ซึ่งประกอบด้วย เทคนิคและ ระเบียบวิธีการฝึก(Methodology) ซึ่งต้องใช้เทคนิคการฝึกอบรมที่เน้นทักษะพิสัย อาจจะใช้ระเบียบวิธีของการเรียนการสอนของอาชีวศึกษาที่เน้นทักษะปฏิบัติสำหรับครูวิชาอาชีพ(นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์,2535) หรือใช้เทคนิควิธีดังต่อไปนี้ในการสอน เช่น เนื่องจากงานที่ต้องฝึกเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าซึ่งเสี่ยงอันตรายหากปฏิบัติผิดพลาด จึงความใช้เทคนิคในการสอนโดย สอนทฤษฎีก่อนฝึกปฏิบัติ เช่น สอนเรื่องความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน สอนการใช้เครื่องมือ หรือ ทฤษฎีความปลอดภัยและมาตรฐานการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า ประเภทปลั๊กสองทางของการไฟฟ้านครหลวง และทำการทดความรู้ เมื่อทุกคนสอบผ่านวัตถุประสงค์ดังกล่าวแล้ว และมีความมั่นใจในความปลอดภัยแล้ว จึงฝึกภาคปฏิบัติต่อไป โดยมีระเบียบวิธีในการฝึกหรือการสอนดังนี้
ระเบียบวิธีการฝึกทักษะปฏิบัติ เรื่อง การเดินสายไฟฟ้าในอาคารและการติดตั้งสวิตซ์สองทาง
1. ขั้นนำ แนะนำงาน กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ และเห็นคุณค่าในงานนั้น
2. ขั้นให้ความรู้ ให้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานที่จะทำ รวมถึงความปลอดภัยในการปฏิบัติงานและการใช้เครื่องมือต่างๆ
3. ขั้นฝึกปฏิบัติ ผู้รับการฝึกลงมือปฏิบัติงาน โดยให้ทำตามแบบ หรือทำตามขั้นตอนที่ถูกต้องและเป็นไปตามมาตรฐาน หรือให้ทำเลียนแบบครู หรือ ให้ลองผิดลองถูกโดยครูฝึกควบคุมอย่างใกล้ชิด เพื่อความปลอดภัย ครูต้องคอยสังเกตแนะนำและให้ข้อมูลย้อนกลับเป็นระยะๆ จนผู้รับการฝึกทำได้ถูกต้อง ให้ทำการฝึกซ้ำๆ หลายครั้งจนชำนาญ
4. ขั้นประเมินผล ผู้รับการฝึกจะได้รับการประเมินทักษะปฏิบัติ และลักษณะนิสัยการทำงาน และความยั่งยืนคงทนในการจำ โดยดูจากความชำนาญ ถ้าชำนาญก็จะจำได้ดี และนาน
ในการปฏิบัติจริงและการฝึกทักษะพิสัย(Skill Oreinted) โดยจะมีขั้นตอนการปฏิบัติงานตามระเบียบวิธีและขั้นตอนการปฏิบัติงานจริงในการติดตั้งและเดินสายไฟฟ้าในอาคาร รวมถึงขั้นต้อนและระเบียบวิธีการติดตั้งสวิซต์สองทางอย่างถูกต้องตามมาตรฐานของการไฟฟ้านครหลวง
และครูฝึกต้องจัดเตรียมเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์การฝึก หรือ สื่อประกอบการฝึก ทั้งภาคทักษะปฏิบัติ และภาคความรู้ซึ่งจะต้องสอดแทรกเข้าไปในการปฏิบัติเสมอ ตามระเบียบวิธีและเทคนิคที่ใช้ในการฝึกทักษะและอบรม ซึ่งในส่วนของเทคโนโยการฝึกหลายประเทศจะใช้แบบ โมดูลการฝึก หมายความว่า เป็นชุดการฝึกที่พร้อมนำไปฝึกในหน่วยการฝึก หรือหลักสูตรการฝึกได้ทันทีทันได ซึ่งในโมดูลการฝึกนั้นๆ มักประกอบไปด้วย หน่วยการฝึก/โมดูล คู่มือแนะนำการฝึก สื่อ วัสดุอุปกรณ์ แนวทางและระเบียบวิธีการสอน ขั้นตอนระเบียบปฏิบัติที่สอดคล้องกับงาน หรือธรรมชาติของอาชีพนั้นๆ ตามมาตรฐานที่กำหนด เช่น มาตรฐานอุสหกรรม หรือ มาตรฐานอาชีพ รวมถึงเกณฑ์การประเมินสมรรถนะและเครื่องมือประเมินด้านต่างๆ เช่น ด้านทักษะความสามารถ ด้านความรู้ ด้านเจตคติ เป็นต้น
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสถานประกอบการฝึกอบรมเช่นกลุ่มงานที่ดูแลด้านสถานฝึก ต้องมีการออกระเบียบหรือข้อกำหนดการจัดสภาพแวดล้อมการปฏิบัติงานที่ใกล้เคียงหรือ มีสภาพที่สอดคล้องกับสภาพในสถานประกอบการ หรือ อุตสาหกรรมที่ผู้รับการฝึกต้องเผชิญในวันข้างหน้า ซึ่งหมายรวมถึง เครื่องมือเครื่องจักรที่นำมาฝึก และวัสดุต่างๆ เช่น รุ่นของเครื่องจักร เครื่องมือ สภาพแวดล้อม ระบบไฟฟ้าแสงส่วาง ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานและอุณภูมิที่เหมาะสมในการปฏิบัติงาน เป็นต้น
4. ขั้นตอนการฝึก ซึ่งเป็นขั้นการฝึกทักษะตามขั้นตอนการปฏิบัติงานจริงในโรงงานอุตสาหกรรม หรือ สถานประกอบการ ภายใต้สภาพแวดล้อมจริง หรือใกล้เคียงกับสภาพที่ผู้รับการฝึกต้องเผชิญ และสอดคล้องกับระเบียบวิธีและเทคนิคการฝึกที่ครูฝึกต้องใช้ตามที่กล่าวมาแล้ว (ด้านบนในข้อที่3) เมื่อเข้าสู่โลกการทำงาน
5. เป็นขั้นการประเมินความสามารถต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น