ใบไม้ล่วง

Playground - มุม

อยากให้ช่วงเวลาเหล่านี้อยู่กับเราไปนานๆได้ไหม

เธอคือ POTATO

Mild : Unlovable

วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

รูปแบบการสอนและการฝึกอบรม

(Teaching/Learning Model) หรือ ระบบการสอน คือโครงสร้างองค์ประกอบการดำเนินการสอนที่ได้รับการจัดเป็นระบบสัมพันธ์สอดคล้องกับทฤษฏี หลักการเรียนรู้หรือการสอนที่รูปแบบนั้นยึดถือและได้รับการพิสูจน์ และทดสอบแล้วว่ามีประสิทธิภาพ  สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายเฉพาะของรูปแบบนั้น ๆ  โดยทั่วไปแบบแผน การดำเนินการสอนดังกล่าวมักประกอบด้วย  ทฤษฏีหลักการที่รูปแบบนั้นยึดถือ  และกระบวนการสอนที่มีลักษณะเฉพาะอันจะนำผู้เรียนไปสู่จุดมุ่งหมายเฉพาะรูปแบบนั้นกำหนด  ซึ่งผู้สอนสามารถนำไปใช้เป็นแบบแผนหรือแบบอย่างในการจัด และดำเนินการสอนอื่น ๆ ที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะเช่นเดียวกันได้ในการฝึกอบรมก็เช่นกัน รูปแบบการฝึกที่นำมาใช้นั้นขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม หรือการมุ่งเน้นเป็นสำคัญในการฝึกอบรมว่าต้องการให้ผู้เรียนหรือผู้มารับการฝึกอบรมเปลี่ยนแปลพฤติกรรมด้านใดเป็นสำคัญ หากการฝึกอบรมนั้นต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านทักษะ หรือทางร่างกายซึ่งจะต้องแสดงออกมาให้เห็นตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร หรือเกณฑ์ที่กำหนดในมาตรฐานใดๆ ก็ตาม รูปแบบการฝึกควรใช้รูปแบบที่งายต่อการประเมินพฤติกรรม เช่น รูปแบบการฝึกอบรมที่เน้นทักษะพิสัย ซึ่งจะจัดการเรียนการสอนหรือฝึกอบรมที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกประสบการณ์จริงในงานภายใต้เงื่อนไขและสภาพแวดล้อมที่สอดคล้องกับการทำงานในสถานประกอบการจริงหรือมีความใกล้เคียงกับการทำงานจริงในสถานประกอบการและมีการควบคุมอย่างเหมาะสม..
และเมื่อเราเลือกรูปแบบการฝึกที่เหมาะสมแล้ว ขั้นต่อไปเป็นการเลือกเทคโนโลยีการฝึก อันประกอบไปด้วยเทคนิค และระเบียบวิธีการฝึกที่สัมพันธ์กันกับรูปแบบการฝึก เช่น หากเราเลือกรูปแบการฝึกที่เน้นทักษะพิสัย(Skill Oriented)  เทคนิคและระเบียบวิธีการฝึกในหลักสูตรหรือหน่วยการฝึกนั้นๆ ก็ต้องเลือกเทคนิคการฝึกที่เน้นการปฏิบัติอย่างเป็นระเบียบขั้นตอนตามอาชีพหรืองานนั้นๆ ที่เกิดขึ้นจริงในสถานประกอบการ หรือ เวลาปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรม
      ดังนั้นเหตุนี้จึงต้องให้ผู้เชี่ยวชาญในงานนั้นๆ ที่มีประสบการณ์เพียงพอเป็นผู้กำหนดลักษณะ ขั้นตอนในการปฏิบัติงาน รวมถึงการวิเคราะห์ทักษะ(Skill)ที่ต้องใช้ ความรู้(Knowledge)ที่ใช้ประกอบเพื่อส่งเสริมให้การปฏิบัติงานเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด รวมถึงลักษณะเฉพาะบุคคล(Attibute)อันเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในตำแหน่งหรืออาชีพนั้นๆ ประกอบกัน

ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการฝึกและเทคนิค ระเบียบวิธีการฝึก(Methodology and Technique) จากที่กล่าวมาสามารถจิตนาการโครงสร้างความคิด ได้ดังต่อไปนี้


alt src=http://home.dsd.go.th/techno/trainingsystem/images/stories/trainingmodel%20vs%20methodology.png

จากโครงสร้างแนวคิดนี้ พออสรุปขั้นตอนได้ดังนี้

หลังจากที่ผู้รับการฝึก(Trainee) ผ่านการแนะแนวการฝึก และรู้หน่วยการฝึกหรือหลักสูตรที่ตนเองฝึกแล้ว ครูฝึกหรือผู้ทำการฝึกต้องดำเนินการดังนี้

1. นำหน่วยการฝึก หรือหลักสูตรการฝึกมาพิจารณาวัตถุประสงค์ปลายทาง หรือสมรรถนะปลายทาง (Outcome) เพื่อพิจารณาเลือกรูปแบบการฝึก (Training Model) เช่น หากผลลัพธ์ปลายทางที่ต้องการคือด้านทักษะ ความสามารถทางร่างกาย เช่น ผู้รับการฝึกจะต้องเดินสายไฟฟ้าภายในอาคาร ที่มีระยะทาง 10 เมตร พร้อมติดตั้งระบบไฟฟ้าแสงสว่างโดยใช้สวิตซ์ 2 ทาง ไปตามทางเดินบรรไดเพื่อให้แสงสว่างในยามค่ำคืน. ครูฝึกหรือผู้เชี่ยวชาญจะต้องเลือกรูปแบบการฝึกที่เน้นสมรรถนะ(Competency-based Training)

2. เมื่อเลือกรูปแบบการฝึกสอดคล้องกับสมรรถนะปลายทางของหน่วยการฝึก หรือ หลักสูตรการฝึกแล้ว คือรูปแบบการฝึกที่เน้นสมรรถนะ(Competency-based Training)

3. ครูฝึก หรือผู้เชี่ยวชาญต้องเลือกเทคโนโลยีการฝึก ซึ่งประกอบด้วย เทคนิคและ ระเบียบวิธีการฝึก(Methodology) ซึ่งต้องใช้เทคนิคการฝึกอบรมที่เน้นทักษะพิสัย อาจจะใช้ระเบียบวิธีของการเรียนการสอนของอาชีวศึกษาที่เน้นทักษะปฏิบัติสำหรับครูวิชาอาชีพ(นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์,2535) หรือใช้เทคนิควิธีดังต่อไปนี้ในการสอน เช่น เนื่องจากงานที่ต้องฝึกเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าซึ่งเสี่ยงอันตรายหากปฏิบัติผิดพลาด จึงความใช้เทคนิคในการสอนโดย สอนทฤษฎีก่อนฝึกปฏิบัติ เช่น สอนเรื่องความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน สอนการใช้เครื่องมือ หรือ ทฤษฎีความปลอดภัยและมาตรฐานการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า ประเภทปลั๊กสองทางของการไฟฟ้านครหลวง และทำการทดความรู้ เมื่อทุกคนสอบผ่านวัตถุประสงค์ดังกล่าวแล้ว และมีความมั่นใจในความปลอดภัยแล้ว จึงฝึกภาคปฏิบัติต่อไป โดยมีระเบียบวิธีในการฝึกหรือการสอนดังนี้

ระเบียบวิธีการฝึกทักษะปฏิบัติ เรื่อง การเดินสายไฟฟ้าในอาคารและการติดตั้งสวิตซ์สองทาง

1. ขั้นนำ แนะนำงาน กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ และเห็นคุณค่าในงานนั้น

2. ขั้นให้ความรู้ ให้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานที่จะทำ รวมถึงความปลอดภัยในการปฏิบัติงานและการใช้เครื่องมือต่างๆ

3. ขั้นฝึกปฏิบัติ ผู้รับการฝึกลงมือปฏิบัติงาน โดยให้ทำตามแบบ หรือทำตามขั้นตอนที่ถูกต้องและเป็นไปตามมาตรฐาน หรือให้ทำเลียนแบบครู หรือ ให้ลองผิดลองถูกโดยครูฝึกควบคุมอย่างใกล้ชิด เพื่อความปลอดภัย ครูต้องคอยสังเกตแนะนำและให้ข้อมูลย้อนกลับเป็นระยะๆ จนผู้รับการฝึกทำได้ถูกต้อง ให้ทำการฝึกซ้ำๆ หลายครั้งจนชำนาญ

4. ขั้นประเมินผล ผู้รับการฝึกจะได้รับการประเมินทักษะปฏิบัติ และลักษณะนิสัยการทำงาน และความยั่งยืนคงทนในการจำ โดยดูจากความชำนาญ ถ้าชำนาญก็จะจำได้ดี และนาน

ในการปฏิบัติจริงและการฝึกทักษะพิสัย(Skill Oreinted) โดยจะมีขั้นตอนการปฏิบัติงานตามระเบียบวิธีและขั้นตอนการปฏิบัติงานจริงในการติดตั้งและเดินสายไฟฟ้าในอาคาร รวมถึงขั้นต้อนและระเบียบวิธีการติดตั้งสวิซต์สองทางอย่างถูกต้องตามมาตรฐานของการไฟฟ้านครหลวง

และครูฝึกต้องจัดเตรียมเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์การฝึก หรือ สื่อประกอบการฝึก ทั้งภาคทักษะปฏิบัติ และภาคความรู้ซึ่งจะต้องสอดแทรกเข้าไปในการปฏิบัติเสมอ ตามระเบียบวิธีและเทคนิคที่ใช้ในการฝึกทักษะและอบรม ซึ่งในส่วนของเทคโนโยการฝึกหลายประเทศจะใช้แบบ โมดูลการฝึก หมายความว่า เป็นชุดการฝึกที่พร้อมนำไปฝึกในหน่วยการฝึก หรือหลักสูตรการฝึกได้ทันทีทันได ซึ่งในโมดูลการฝึกนั้นๆ มักประกอบไปด้วย หน่วยการฝึก/โมดูล คู่มือแนะนำการฝึก สื่อ วัสดุอุปกรณ์ แนวทางและระเบียบวิธีการสอน ขั้นตอนระเบียบปฏิบัติที่สอดคล้องกับงาน หรือธรรมชาติของอาชีพนั้นๆ ตามมาตรฐานที่กำหนด เช่น มาตรฐานอุสหกรรม หรือ มาตรฐานอาชีพ รวมถึงเกณฑ์การประเมินสมรรถนะและเครื่องมือประเมินด้านต่างๆ เช่น ด้านทักษะความสามารถ ด้านความรู้ ด้านเจตคติ เป็นต้น

และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสถานประกอบการฝึกอบรมเช่นกลุ่มงานที่ดูแลด้านสถานฝึก ต้องมีการออกระเบียบหรือข้อกำหนดการจัดสภาพแวดล้อมการปฏิบัติงานที่ใกล้เคียงหรือ มีสภาพที่สอดคล้องกับสภาพในสถานประกอบการ หรือ อุตสาหกรรมที่ผู้รับการฝึกต้องเผชิญในวันข้างหน้า ซึ่งหมายรวมถึง เครื่องมือเครื่องจักรที่นำมาฝึก และวัสดุต่างๆ เช่น รุ่นของเครื่องจักร เครื่องมือ สภาพแวดล้อม ระบบไฟฟ้าแสงส่วาง ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานและอุณภูมิที่เหมาะสมในการปฏิบัติงาน เป็นต้น

4. ขั้นตอนการฝึก ซึ่งเป็นขั้นการฝึกทักษะตามขั้นตอนการปฏิบัติงานจริงในโรงงานอุตสาหกรรม หรือ สถานประกอบการ ภายใต้สภาพแวดล้อมจริง หรือใกล้เคียงกับสภาพที่ผู้รับการฝึกต้องเผชิญ และสอดคล้องกับระเบียบวิธีและเทคนิคการฝึกที่ครูฝึกต้องใช้ตามที่กล่าวมาแล้ว (ด้านบนในข้อที่3) เมื่อเข้าสู่โลกการทำงาน

5. เป็นขั้นการประเมินความสามารถต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น