ใบไม้ล่วง

Playground - มุม

อยากให้ช่วงเวลาเหล่านี้อยู่กับเราไปนานๆได้ไหม

เธอคือ POTATO

Mild : Unlovable

วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

แบบฝึกเสริมทักษะ

ความหมายของแบบฝึกเสริมทักษะ
                        ภาษาเป็นเรื่องทักษะ  ซึ่งจำแนกได้เป็น  2  ทาง  คือ  ทักษะการรับเข้า  ได้แก่  การอ่านและการฟัง  และทักษะการแสดงออก  ได้แก่  การพูดและเขียน  ทักษะทางภาษาจำเป็นต้องฝึกฝนอยู่เสมอ  แบบฝึกเสริมทักษะนับว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างหนึ่งสำหรับการเรียนภาษาได้มีผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญทางภาษา  ให้ความหมายของแบบฝึกเสริมทักษะไว้ดังนี้
                        ชัยยงค์  พรหมวงศ์  (2535 : 16)  ให้ความหมาย  แบบฝึกเสริมทักษะว่า  หมายถึง  สิ่งที่นักเรียนต้องใช้ควบคู่กับการเรียน  ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบฝึกที่ครอบคลุมกิจกรรมที่นักเรียนพึงกระทำ  อาจกำหนดแยกเป็นแต่ละหน่วย  หรืออาจรวมเล่มก็ได้
                        ลักษณา  อินทะจักร  (2538 : 161)  ให้ความหมาย  แบบฝึกเสริมทักษะว่า  หมายถึง แบบฝึกที่ครูสร้างขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง
                        ศศิธร  ธัญลักษณานันท์  (2542 : 375)  ให้ความหมายแบบฝึกเสริมทักษะว่า  หมายถึง  แบบฝึกเสริมทักษะที่ใช้ฝึกความเข้าใจ  ฝึกทักษะต่าง ๆ และทดสอบความสามารถของนักเรียนตามบทเรียนที่ครูสอนว่า  นักเรียนเข้าใจและสามารถนำไปใช้ได้มากน้อยเพียงใด
                        กู๊ด  (Good  1973 : 224, อ้างถึงใน  ลักษณา  อินทะจักร  2538 : 160)  ให้ความหมายแบบฝึกเสริมทักษะว่า  หมายถึง  งานหรือการบ้านที่ครูมอบหมายให้นักเรียนทำ  เพื่อทบทวนความรู้ที่ได้เรียนมาแล้ว  และเป็นการฝึกทักษะการใช้กฎใช้สูตรต่าง ๆ ที่เรียนไป
                        พจนานุกรม  เวบสเตอร์  (Webster  1981 : 64)  ให้ความหมายแบบฝึกเสริมทักษะว่าหมายถึง  โจทย์ปัญหา  หรือตัวอย่างที่ยกมาจากหนังสือ  เพื่อนำมาใช้สอนหรือให้ผู้เรียนฝึกฝนทักษะต่าง ๆ ให้ดีขึ้น  หลังจากที่เรียนบทเรียนไปแล้ว
                        ดังนั้น  จึงอาจกล่าวได้ว่า  แบบฝึกเสริมทักษะ  หมายถึง  งานหรือกิจกรรมที่ครู               สร้างขึ้น  โดยมีรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลาย  มีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น  และช่วยฝึกทักษะต่าง ๆ ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง  อาจจะให้นักเรียนทำแบบฝึกขณะเรียนหรือหลังจากจบบทเรียนไปแล้วก็ได้


                        ความสำคัญของแบบฝึกเสริมทักษะ
                        ภายหลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนไปแล้ว  การเรียนการสอนนั้นย่อม          ไม่เกิดผลอย่างเต็มที่ถ้าไม่ได้รับการฝึกทักษะให้เกิดความชำนาญและเข้าใจอย่างแท้จริงโดยเฉพาะวิชาภาษาไทย  เพราะภาษาไทยเป็นวิชาทักษะซึ่งเป็นวิชาที่ต้องอาศัยการฝึกฝนเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้วิชาอื่น ๆ และการดำเนินชีวิตประจำวันตามที่หลักสูตรประถมศึกษา  พุทธศักราช 2521  (ฉบับปรับปรุง  พ.ศ. 2533)  ต้องการ  ดังนั้นในการสอนภาษาไทยจึงต้องมีการฝึกฝนให้เกิดความชำนาญคล่องแคล่ว  เพื่อช่วยให้เด็กเกิดพัฒนาการทางภาษาเพิ่มขึ้นตามวัยและความสามารถของตนที่จะทำได้  และเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ใช้ฝึกทักษะทางภาษาให้ได้ผลดีก็คือ  แบบฝึกเสริมทักษะ  ดังที่นักวิชาการหลายท่านได้กล่าวถึงความสำคัญของแบบฝึกเสริมทักษะไว้ดังนี้
                        กมล  ดิษฐกมล  (2526 : 18, อ้างถึงใน  ลักษณา  อินทะจักร  2538 : 163)  กล่าวว่า  แบบฝึกเสริมทักษะเป็นหัวใจของการสอนวิชาทักษะอยู่ที่การฝึก  การฝึกอย่างถูกวิธีเท่านั้นจะทำให้เกิดความชำนิชำนาญ  คล่องแคล่วว่องไวและทำได้โดยอัตโนมัติ
                        วีระ  ไทยพานิช  (2528 : 11)  ได้อธิบายว่า  แบบฝึกเสริมทักษะทำให้เกิดการเรียนรู้จากการกระทำจริง  เป็นประสบการณ์ตรงที่ผู้เรียนมีจุดประสงค์แน่นอน  ทำให้สามารถรู้และจดจำสิ่งที่เรียนได้ดี  จนนำไปใช้ในสถานการณ์เช่นเดียวกันได้
                        เพตตี้  (Petty  1963 : 269)  ได้กล่าวถึงความสำคัญของแบบฝึกเสริมทักษะไว้อย่างชัดเจนว่าแบบฝึกเสริมทักษะเป็นส่วนเพิ่มเติมหรือเสริมหนังสือเรียนในการเรียนทักษะ                   เป็นอุปกรณ์การสอนที่ช่วยลดภาระของครูได้มาก  ช่วยส่งเสริมให้ทักษะทางภาษาคงทน  ช่วยในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล  เพราะการให้นักเรียนทำแบบฝึกเสริมทักษะที่เหมาะสมกับความสามารถของตนเอง  จะทำให้ประสบผลสำเร็จทางด้านจิตใจมาก  ทั้งยังช่วยให้นักเรียนสามารถทบทวนสิ่งที่เรียนได้ด้วยตนเองและใช้เป็นเครื่องมือวัดผลการเรียนได้อีกด้วย
                        ดังนั้น  แบบฝึกเสริมทักษะจึงเป็นเครื่องมือสำคัญ  ที่จะช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น  แบบฝึกเสริมทักษะจึงนับว่ามีความสำคัญและจำเป็นต่อการเรียนวิชาที่ต้องการฝึกฝนเพื่อให้เกิดความชำนาญ  มีความเข้าใจเนื้อหาบทเรียนมากยิ่งขึ้น

                        ลักษณะที่ดีของแบบฝึกเสริมทักษะ
                        การสร้างแบบฝึกเสริมทักษะให้มีประสิทธิภาพต้องมีหลักในการสร้างที่สอดคล้องกับลักษณะที่ดีของแบบฝึกเสริมทักษะด้วย  ซึ่งมีผู้รู้ได้เสนอแนะไว้ดังนี้
                        การสร้างแบบฝึกเสริมทักษะให้มีประสิทธิภาพต้องมีหลักในการสร้างที่สอดคล้องกับลักษณะที่ดีของแบบฝึกเสริมทักษะด้วย  ซึ่งมีผู้รู้ได้เสนอแนะไว้ดังนี้
                        นิตยา  ฤทธิ์โยธี  (2520 : 1)  ได้กล่าวถึงลักษณะที่ดีของแบบฝึกเสริมทักษะไว้ว่า          แบบฝึกเสริมทักษะต้องเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียนมาแล้ว  เหมาะสมกับระดับ  วัย  หรือความสามารถของเด็ก  มีคำชี้แจงสั้น ๆ ที่ทำให้เด็กเข้าใจวิธีทำได้ง่าย  ใช้เวลาเหมาะสมหรือใช้เวลาไม่นาน  และเป็นสิ่งที่น่าสนใจและท้าทายให้แสดงความสามารถ
                        สามารถ  มีศรี  (2530 : 28)  กล่าวว่า  แบบฝึกเสริมทักษะที่ดีต้องเกี่ยวกับบทเรียนที่เรียนมาแล้วเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน  มีคำสั่งและคำอธิบาย  มีคำแนะนำการใช้แบบฝึก                เสริมทักษะ  มีรูปแบบที่น่าสนใจและมีกิจกรรมที่หลากหลายรูปแบบ
                        โรจนา  แสงรุ่งระวี  (2531 : 22)  กล่าวว่า  แบบฝึกเสริมทักษะที่ดีนอกจากมีคำอธิบายชัดเจนแล้วควรเป็นแบบฝึกสั้น ๆ ใช้เวลาในการฝึกไม่นานเกินไปและมีหลายรูปแบบ
                        ฉะนั้น  จึงอาจกล่าวได้ว่า  แบบฝึกเสริมทักษะที่ดี  ครูผู้สร้างจะต้องยึดหลักจิตวิทยา  ใช้สำนวนภาษาที่ง่าย  เหมาะสมกับวัย  ความสามารถของผู้เรียน  มีกิจกรรมหลากหลาย  มีคำสั่ง  คำอธิบาย  และคำแนะนำการใช้แบบฝึกเสริมทักษะที่ชัดเจนเข้าใจง่าย  ใช้เวลาในการฝึกไม่นานและที่สำคัญมีความหมายต่อชีวิต  เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

                        หลักการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะ
                        การสร้างแบบฝึกเสริมทักษะให้มีประสิทธิภาพต้องมีหลักการสร้างที่สอดคล้องกับลักษณะที่ดีของแบบฝึกเสริมทักษะด้วย  ซึ่งในเรื่องนี้ได้มีผู้เสนอแนะไว้ดังนี้
                        วรนาถ  พ่วงสุวรรณ  (2518 : 34 – 37)  ได้ให้หลักการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะไว้ดังนี้
1.       ตั้งจุดประสงค์
2.       ศึกษาเกี่ยวกับเนื้อหา
3.       ขั้นต่าง ๆ ในการสร้าง
3.1    ศึกษาปัญหาในการเรียนการสอน
3.2    ศึกษาหลักจิตวิทยาของเด็กและจิตวิทยาการเรียนการสอน
3.3    ศึกษาเนื้อหาวิชา
3.4    ศึกษาลักษณะของแบบฝึกเสริมทักษะ
3.5    วางโครงเรื่องและกำหนดรูปแบบให้สัมพันธ์กับโครงเรื่อง
3.6    เลือกเนื้อหาต่าง ๆ ที่เหมาะสมมาบรรจุในแบบฝึกเสริมทักษะให้ครบตามที่กำหนด
                        เกสร  รองเดช  (2522 : 36 – 37)  ได้เสนอแนะแนวทางในการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะดังนี้
                        1.  สร้างแบบฝึกเสริมทักษะให้เหมาะสมกับวัยของนักเรียน  คือ  ไม่ง่ายไม่ยากจนเกินไป
                        2.  เรียงลำดับแบบฝึกเสริมทักษะจากง่ายไปหายาก  โดยเริ่มจากการฝึกออกเสียงเป็นพยางค์  คำ  วลี  ประโยค  และคำประพันธ์
                        3.  แบบฝึกเสริมทักษะบางแบบควรใช้ภาพประกอบ  เพื่อดึงดูดความสนใจของนักเรียน  ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนประสบความสำเร็จในการฝึก  และจะช่วยยั่วยุให้ติดตามต่อไปตามหลักของการจูงใจ
                        4.  แบบฝึกเสริมทักษะที่สร้างขึ้นเป็นแบบฝึกสั้น ๆ ง่าย ๆ ใช้เวลาในการฝึกประมาณ  30  ถึง  45  นาที
                        5.  เพื่อป้องกันความเบื่อหน่าย  แบบฝึกต้องมีลักษณะต่าง ๆ เช่น  ประสมคำจากภาพ  เล่นกับบัตรภาพ  เติมคำลงในช่องว่าง  อ่านคำประพันธ์  ฝึกร้องเพลง  และใช้เกมต่าง ๆ ประกอบ
                        บ็อค  (Bock  1993 : 3)  ได้ให้ข้อพิจารณาในการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะ  ดังนี้
                        1.  กำหนดจุดประสงค์ให้ชัดเจน  เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้ทราบจุดมุ่งหมายของแบบฝึกเสริมทักษะ
                        2.  ให้รายละเอียดต่าง ๆ เช่น  คำแนะนำในการทำแบบฝึกเสริมทักษะหรือขั้นตอนในการทำอย่างละเอียด
                        3.  สร้างแบบฝึกเสริมทักษะให้มีรูปแบบที่หลากหลาย  เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับนักเรียนมากที่สุด  เช่น  แบบฝึกเสริมทักษะอาจใช้รูปแบบง่าย ๆ โดยเริ่มจากการให้นักเรียน           ตอบคำถามในลักษณะถูกผิดจนถึงการให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น
                        4.  แบบฝึกเสริมทักษะควรสร้างความเข้าใจให้กับนักเรียน  เช่น  การให้นักเรียนเขียนเรียงลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นลงในตารางหรือแผนภูมิที่กำหนดให้
                        จากแนวคิดข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า  การสร้างแบบฝึกเสริมทักษะควรมีหลักใน          การสร้างดังนี้
                        1.  ต้องยึดหลักจิตวิทยาการเรียนรู้และพัฒนาการของผู้เรียนในแต่ละวัย  ต้องคำนึงถึงความสามารถ  ความสนใจ  แรงจูงใจของนักเรียน
                        2.  ต้องตั้งจุดประสงค์ในการฝึกว่าต้องการฝึกเสริมทักษะใด  เนื้อหาใด  ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อะไร
                        3.  แบบฝึกเสริมทักษะต้องไม่ยากไม่ง่ายจนเกินไป  คำนึงถึงความสามารถของเด็กและต้องเรียงลำดับจากง่ายไปหายาก
                        4.  ต้องศึกษาขั้นตอนต่าง ๆ ในการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะ  ปัญหาและข้อบกพร่องของนักเรียน
                        5.  แบบฝึกเสริมทักษะต้องมีคำชี้แจง  และควรมีตัวอย่างเพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจมากขึ้น  และสามารถทำได้ด้วยตนเอง
                        6.  แบบฝึกเสริมทักษะควรมีหลายรูปแบบ  หลายลักษณะ  เพื่อจูงใจในการทำ  ทำให้นักเรียนมีความรู้สึกว่ามีจำนวนไม่มาก
                        7.  ควรมีรูปภาพประกอบที่สวยงามเหมาะสมกับวัยของเด็ก
                        8.  ควรใช้ภาษาสั้น ๆ ง่าย ๆ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาหรือคำสั่ง
                        9.  ควรมีการทดลองใช้เพื่อหาข้อบกพร่องต่าง ๆ ก่อนนำไปใช้จริง
                        10.  ควรจัดทำเป็นรูปเล่ม  ซึ่งสามารถเก็บรักษาได้ง่าย  นักเรียนสามารถนำมาทบทวนก่อนสอบได้

                        หลักจิตวิทยาที่นำมาใช้ในการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะ
                        การสร้างแบบฝึกเสริมทักษะให้มีประสิทธิภาพ  สำหรับนำไปใช้กับนักเรียนนั้น  ต้องอาศัยหลักจิตวิทยาในการเรียนรู้  และทฤษฎีที่ถือว่าเป็นแนวความคิดพื้นฐานของการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะเข้าช่วย  เพื่อให้สอดคล้องกับความสนใจและความสามารถของนักเรียน
                        เดโช  สวนานนท์  (2521 : 159 – 163)  ได้กล่าวถึงทฤษฎีการเรียนรู้ของ  ธอร์นไดค์  และสกินเนอร์  (Thorndike  and  Skinner)  ดังนี้ ธอร์นไดค์  ได้ตั้งกฎการเรียนรู้ขึ้น  3  กฎ  ซึ่งนำมาใช้ในการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะ  ได้แก่
1.  กฎแห่งผล  (Law  of  Effect)  มีใจความว่าการเชื่อมโยงกันระหว่างสิ่งเร้ากับการ ตอบสนองจะดียิ่งขึ้นเมื่อผู้เรียนแน่ใจว่าพฤติกรรมตอบสนองของตนถูกต้อง  การให้รางวัลจะช่วยส่งเสริมการแสดงพฤติกรรมนั้น ๆ อีก
2.  กฎแห่งการฝึกหัด  (Law  of  Exercise)  มีใจความว่า  การที่มีโอกาสได้กระทำซ้ำ ๆ ในพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งนั้น ๆ จะมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น  การฝึกหัดที่มีการควบคุมที่ดีจะส่งเสริมผลต่อการเรียนรู้

การสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้

คำว่า “นวัตกรรม” เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovate แปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่า “นวกรรม” ต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำ) หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดี ยิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) สำหรับผู้ที่กระทำ หรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มาใช้นี้ เรียกว่าเป็น “นวัตกร” (Innovator) (boonpan edt01.htm)
นอกจากนี้ยังมีผู้ให้ความหมายของ“นวัตกรรม” ไว้ต่าง ๆ กัน เช่น
Thomas Hughes ได้ให้ความหมายของ “นวัตกรรม” ว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention)การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา (boonpan edt01.htm)
Morton,J.A. ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ว่าเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง(Renewal) ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการ ปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา (boonpan edt01.htm)
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2521 : 14) ได้ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ไว้ว่าหมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่ ๆ ที่แปลกไปจากเดิม โดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ ๆ ขึ้นมา หรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสม และสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฎิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
จรูญ วงศ์สายัณห์ (2520 : 37) ได้กล่าวถึงความหมายของ “นวัตกรรม” ไว้ว่า “แม้ใน
ภาษาอังกฤษเอง ความหมายก็ต่างกันเป็น 2 ระดับ โดยทั่วไป นวัตกรรม หมายถึง ความพยายาม ใด ๆ จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการ ที่ทำอยู่เดิมแล้ว กับอีกระดับหนึ่งซึ่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรม ได้พยายามศึกษาถึงที่มา ลักษณะ กรรมวิธี และผลกระทบที่มีอยู่ต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง คำว่า นวัตกรรม มักจะหมายถึง สิ่งที่ได้นำ ความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ (บุญเกื้อ ควรหาเวช , 2543)
ดังนั้น นวัตกรรมจึงเป็นความคิดหรือการกระทำใหม่ๆ ซึ่งนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญ ในแต่ละวงการจะมีการคิดและทำสิ่งใหม่อยู่เสมอ นวัตกรรมจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ได้เรื่อยๆ สิ่งใดที่คิดและทำมานานแล้ว ก็ถือว่าหมดความเป็นนวัตกรรมไป โดยจะมีสิ่งใหม่มาแทน ในวงการศึกษาปัจจุบัน มีสิ่งที่เรียกว่านวัตกรรมทางการศึกษา หรือนวัตกรรมการเรียนการสอนอยู่เป็นจำนวนมาก บางอย่างเกิดขึ้นใหม่ บางอย่างมีการใช้มาหลายสิบปีแล้ว แต่ก็ยังคงถือว่าเป็น นวัตกรรม เนื่องจากนวัตกรรมเหล่านั้นยังไม่แพร่หลายเป็นที่รู้จักทั่วไป ในวงการศึกษา นวัตกรรมทางการศึกษาต่างๆ ที่กล่าวถึงกันมากในปัจจุบัน ได้แก่
e-learning
e-learning เป็นคำที่ใช้เรียกเทคโนโลยีการศึกษาแบบใหม่ ที่ยังไม่มีชื่อภาษาไทยที่แน่ชัด และมีผู้นิยามความหมายไว้หลายประการ เช่น ผศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง ให้คำนิยาม e-Learning หรือ Electronic Learning ว่า หมายถึง "การเรียนผ่านทางสื่ออิเลคทรอนิกส์ซึ่งใช้การ นำเสนอ เนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ในรูปของสื่อมัลติมีเดียได้แก่ ข้อความอิเลคทรอนิกส์ ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติฯลฯ"เช่นเดียวกับ ธิดาทิตย์ จันคนา ที่ให้ความหมายของ e-learning หมายถึง การศึกษาที่เรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เนตโดยผู้เรียนรู้จะเรียนรู้ ด้วยตัวเอง การเรียนรู้จะเป็นไปตามปัจจัยภายใต้ทฤษฎีแห่งการเรียนรู้สองประการคือ เรียนตามความรู้ความสามารถของผู้เรียนเอง และ การตอบสนองใน ความแตกต่างระหว่างบุคคล(เวลาที่แต่ละบุคคลใช้ในการเรียนรู้)การเรียนจะกระทำผ่านสื่อบนเครือข่ายอินเตอร์เนต โดยผู้สอนจะนำเสนอข้อมูลความรู้ให้ผู้เรียนได้ทำการศึกษาผ่านบริการ เว็บไซด์ หรือWorld Wide Web โดยอาจให้มีปฏิสัมพันธ์ (สนทนา โต้ตอบ ส่งข่าวสาร) ระหว่างกันจะที่มี การ เรียนรู้ ู้ในสามรูปแบบคือ ผู้สอนกับ ผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียนอีกคนหนึ่ง หรือ ผู้เรียนหนึ่งคนกับกลุ่มของผู้เรียน ปฏิสัมพันธ์นี้สามารถ กระทำ ผ่านเครื่องมือสองลักษณะคือ แบบ Real-time ได้แก่การสนทนาในลักษณะของการพิมพ์ข้อความแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน หรือ ส่งในลักษณะ ของเสียง จากบริการของ Chat room และแบบ Non real-time ได้แก่การส่งข้อความถึงกันผ่านทางบริการอิเลคทรอนิคส์เมลล์ WebBoard News-group เป็นต้น
ห้องเรียนเสมือนจริง
การ เรียนการสอนที่จำลองแบบเสมือนจริง เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่สถาบันการศึกษา ต่างๆ ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจและจะขยายตัวมากขึ้นในศตวรรษที่ 21 การเรียนการสอนในระบบนี้อาศัยสื่ออิเล็กทรอนิกส์โทรคมนาคม และเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นหลัก ที่เรียกว่า Virtual Classroom หรือ Virtual Campus บ้าง นับว่าเป็นการพัฒนาการ บริการทางการศึกษาทางไกลชนิดที่เรียกว่าเคาะประตูบ้านกันจริงๆ เป็นรูปแบบใหม่ของสถาบันการศึกษาในโลกยุคไร้พรมแดนมีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายของคำว่า Virtual Classroom ไว้ดังนี้
ครรชิต มาลัยวงศ์ ได้กล่าวถึงความหมายของห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom)ว่าหมายถึง การเรียนการสอนที่ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของผู้เรียน เข้าไว้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการเครือข่าย (File Server) และเครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้ให้บริการเว็บ (Web Server) อาจเป็นการเชื่อมโยงระยะใกล้ หรือระยะไกล ผ่านทางระบบ การสื่อสารและอินเทอร์เน็ตด้วย กระบวนการสอนผู้สอนจะออกแบบระบบการเรียนการสอนไว้โดยกำหนด กิจกรรมการเรียน การสอน สื่อต่างๆ นำเสนอผ่านเว็บไซต์ประจำวิชา จัดสร้างเว็บเพจในแต่ละส่วนให้ สมบูรณ์ ผู้เรียนจะเข้าสู่เว็บไซต์ประจำวิชาและดำเนินการเรียนไปตามระบบ การเรียน ที่ผู้สอนออกแบบไว้ในระบบเครือข่ายมีการจำลองสภาพแวดล้อมต่างๆ ในลักษณะเป็นห้องเรียนเสมือน (ครรชิต มาลัยวงศ์, 2540)
บุญเกื้อ ควรหาเวช (2543 : 195) ได้กล่าวถึงห้องเรียนเสมือนว่า (Virtual Classroom) หมายถึง การ จัดการเรียนการสอนที่ ผู้เรียนจะเรียนที่ไหนก็ได้ เช่น ที่บ้าน ที่ทำงานโดยไม่ต้องไป นั่งเรียนในห้อง เรียนจริงๆ ทำให้ประหยัดเวลา ค่าเดินทาง และค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกมากมาย
รุจโรจน์ แก้วอุไร กล่าวไว้ว่าห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) เป็นการจัด การเรียนการ สอนทางไกลเต็มรูปแบบ โดยมีองค์ประกอบครบ ได้แก่ ตัวผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้น เข้าสู่ กระบวนการเรียนการสอนพร้อมๆ กัน มีสื่อการสอนทั้งภาพและเสียง ผู้เรียนสามารถร่วม กิจกรรมกลุ่ม หรือตอบโต้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้สอนหรือกับเพื่อนร่วมชั้นได้เต็มที่ (คล้ายกับ chat room) ส่วนผู้สอนสามารถตั้งโปรแกรมติดตามพัฒนาการ ประเมินผลการเรียนรวมทั้งประสิทธิภาพของหลัก สูตรได้ ทั้งนี้ไม่จำกัดเรื่องสถานที่ แต่ผู้เรียนในชั้นและผู้สอนจะต้องนัดเวลาเรียนอย่างพร้อมเพรียง
เราจึงกล่าวได้ว่าห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) หมายถึง การเรียนการสอนที่กระทำผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของผู้เรียนเข้าไว้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการเครือข่าย (File Server) และคอมพิวเตอร์ผู้ให้บริการเว็บ (Web sever) เป็นการเรียนการสอนที่จะมีการนัดเวลาหรือไม่นัดเวลาก็ได้ และนัดสถานที่ นัดตัวบุคคล เพื่อให้เกิดการเรียนการสอน มีการกำหนดตารางเวลาหรือตารางสอน เข้าสู่กระบวนการเรียนการสอนพร้อมๆ กันหรือไม่พร้อมกันมีการใช้สื่อการสอนทั้งภาพและเสียง ผู้เรียนสามารถร่วมกิจกรรมกลุ่มหรือตอบ โต้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้สอนหรือกับเพื่อนร่วมชั้นได้เต็มที่ (คล้าย chat room) ส่วนผู้สอน สามารถตั้งโปรแกรมติดตามพัฒนาการประเมินผลการเรียนรวมทั้งประสิทธิภาพของหลักสูตรได้ ทั้งนี้ ไม่จำกัดเรื่องสถานที่ เวลา (Any Where & Any Time) ของผู้เรียนในชั้นและ ผู้สอน
Asynchronous Learning
Asynchronous Learning คือ รูปแบบ การเรียนการสอนที่ผู้สอนและผู้เรียนไม่จำเป็นต้องพบกันตามเวลาในตาราง ที่กำหนดไว้ (Synchronous Learning) แต่ผู้สอนและผู้เรียนสามารถติดต่อกันได้ตลอดเวลา โดยใช้เครื่องมือสื่อ สารต่าง ๆ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา และสถานที่ ผู้เรียนสามารถเรียนที่ไหน เวลาใดก็ได้ (Anywhere Anytime) เป็นการเรียนที่อาศัยวิธีการ หรือเครื่องมือต่าง ๆ ที่ทำให้ ผู้เรียน สามารถเรียนรู้ในลักษณะที่ปฏิสัมพันธ์ และมีส่วนร่วมช่วยเหลือกันระหว่าง ผู้เรียน โดยใช้แหล่ง ข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ทั้งใกล้และไกล ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้า หรือ เข้าถึงข้อมูลความรู้เหล่านั้น จากที่ไหน และเวลาใดก็ได้ ตามความต้องการและความสะดวกของผู้เรียนเอง ซึ่ง Asynchronous Learning เป็นการใช้การสื่อสารระยะไกล (Telecommunication) เพื่อช่วยให้ การเรียนรู้มีลักษณะใกล้เคียงกับการเรียนในระบบห้องเรียนหรือการเรียนการสอนที่ผู้สอนกับ ผู้เรียนได้พบหน้ากัน (Face - to - Face Instruction)
แนวคิดเกี่ยวกับ Asynchronous Learning คือการนำความก้าวหน้าของเทคโนโลยี การสื่อ สาร และความสามารถของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ได้แก่ ระบบโทรทัศน์ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมทั้งโปรแกรมสำเร็จรูป (Software) ต่าง ๆ มาใช้ให้เป็นประโยชน์ เพื่อการศึกษา ทำให้สามารถขจัดข้อจำกัดของการเรียนการสอนในลักษณะที่ผู้สอนและผู้เรียนต้องมีเวลาตรงกัน ใน ลักษณะตารางสอน (Synchronous Learning) มีสถานที่ตรงกัน อาจจะเป็นห้องเรียน หรือสถานที่ ใดที่หนึ่งจึงจะมีกิจกรรมการเรียนการสอน ที่ทำให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนในลักษณะ Face - to - Face แต่ถ้าหากใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ จะช่วยสนับสนุน การเรียนรู้ การเรียนรู้ในลักษณะดังกล่าว สามารถเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน โดยที่ ผู้เรียนและผู้สอน ไม่จำเป็นต้อง มีเวลาและสถานที่ตรงกัน นั่นคือ ผู้เรียนสามารถเรียนจากที่ไหนและเวลาใดก็ได้ ตามความต้องการ ของผู้เรียนเองโดยผ่านสื่อ ต่าง ๆ เช่น Multimedia Computer, Telephone และ Computer Linking Infrastructure, The Internet และ World Wide Web, E - Mail, Conference System และอื่น ๆ เช่น Audio - Video เป็นต้น
สื่อหลายมิติ
สื่อหลายมิตินั้นเป็นสื่อประสมที่พัฒนามาจากข้อความหลายมิติ ซึ่งแนวความคิดเกี่ยวกับข้อความหลายมิติ (hypertext) นี้มีมานานหลายสิบปีแล้ว โดย Vannevar Bush เป็นผู้ ที่มีความคิดริเริ่มเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเขากล่าวว่า น่าจะมี เครื่องมืออะไรสักอย่างที่ช่วยในเรื่องความจำและความคิดของมนุษย์ที่จะช่วยให้เราสามารถสืบค้นและเรียกใช้ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ได้ หลาย ๆ ข้อมูลในเวลาเดียวกันเหมือนกับที่คนเราสามารถคิดเรื่องต่าง ๆ ได้หลายเรื่องในเวลาเดียวกัน
ข้อความหลายมิติ Hypertext หรือข้อความหลายมิติ คือเทคโนโนยีของการอ่านและ การเขียนที่ไม่เรียงลำดับเนื้อหากัน โดยเสนอในลักษณะของข้อความที่เป็นตัวอักษร ภาพกราฟิค อย่างง่ายที่มีการเชื่อมโยงถึงกัน เรียกว่า “จุดต่อ” (node) โดยผู้ใช้สามารถเคลื่อนที่จากจุด ต่อหนึ่งไปยังอีกจุดต่อหนึ่งได้โดยการเชื่อมโยงจุดต่อเหล่านั้น
ข้อความหลายมิติ เป็นระบบย่อยของสื่อหลายมิติ คือ เป็นการนำเสนอสารสนเทศที่ ผู้อ่านไม่จำเป็นต้องอ่านเนื้อหาในมิติเดียวเรียงลำดับกันในแต่ละบทตลอดทั้งเล่ม โดยผู้อ่านสามารถข้ามไปอ่านหรือค้นคว้าข้อมูลที่สนใจตอนใดก็ได้โดยไม่ต้องเรียงลำดับลักษณะข้อความหลายมิติอาจ เปรียบเทียบได้เสมือนกับบัตรหรือแผ่นฟิล์มใส หลาย ๆ แผ่นที่วางซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ใน แต่ละแผ่นจะบรรจุข้อมูลแต่ละอย่างลงไว้
สำหรับการดำเนินงานโครงการหนึ่งโรงเรียนหนึ่งนวัตกรรม สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดเกณฑ์การพิจารณาความเป็นนวัตกรรมเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ตรงกัน ดังนี้
1.เป็นผลงานที่เกิดจากแนวคิด วิธีการ กระบวนการใหม่ ๆ องค์ความรู้ใหม่ที่ยังไม่เคยมีปรากฏที่ใดมาก่อน หรือเป็นผลงาน วิธีการ กระบวนการที่มีอยู่แล้ว แต่นำมาปรับปรุง พัฒนาหรือใช้วิธีการใหม่ ๆ ที่ยังไม่มีใครทำแต่ได้ผลดียิ่งกว่าผลงานเดิม
2.มีการใช้กระบวนการวิจัยในการพัฒนาอย่างเป็นระบบ
3.เป็นผลงานที่ไม่ชี้นำหรือขัดต่อศีลธรรม วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของไทย

CAI กับการเรียนรู้ของคนไทย

 CAIมาจากคำว่า"ComputerAidedInstruction"หรือบางแหล่งอาจจะใช้คำว่า"Computer AssistedInsturction"โดยมีการใช้คำ
ในภาษาไทยว่า"สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน"
เป็นกระบวนการเรียนการสอน โดยนำเอาสื่อคอมพิวเตอร์ มาใช้ในการนำเสนอเนื้อหา เรื่องราวต่างๆ มีลักษณะเป็นการเรียนโดยตรง และเป็นการเรียนแบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) ซึ่งก็คือ สามารถโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ได้จริงๆ แล้วคำว่า "คอมพิวเตอร์ช่วยสอน" ไม่ได้มีความหมายที่ CAI แต่ยังรวมถึงคำอื่นๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน ได้แก่
  

            CBT Computer Based Training
    
       CBE Computer Based Education
   
       CAL Computer Aissisted Learning
   
       CMI Computer Managed Instruction
           IMMCAI Interactive Multimedia CAI

       
                          ไม่ว่าจะเป็นคำใด ต่างก็มีลักษณะสำคัญ 4 ประการ ได้แก่

   Information   ต้องมีเนื้อหาสาระสำคัญ
   Individualized   ต้องตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล
   Interactive   ต้องมีการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับบทเรียนได้
   Immediate Feedback ต้องให้ผลย้อนกลับ
                     โดยทันทีเหตุผลสำคัญที่มีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยในการเรียนการสอนในรูปของ CAI ได้แก่ เสนอสิ่งเร้าให้กับผู้เรียน ได้แก่
เนื้อหา ภาพนิ่ง คำถาม ภาพเคลื่อนไหว ประเมินการตอบสนองของผู้เรียนได้แก่ การตัดสินคำตอบให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการเสริมแรง ได้แก่ การให้รางวัล หรือ คะแนนให้ผู้เรียนเลือกสิ่งเร้าในลำดับต่อไป
                                
                                             ดังนั้นสามารถสรุปประโยชน์ของ CAI ได้ดังนี้
                       สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ ดึงดูดความสนใจ โดยใช้เทคนิคการนำเสนอด้วยกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว แสง สี เสียง      สวยงามและเหมือนจริง ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และสามารถเข้าใจเนื้อหาได้เร็ว ด้วยวิธีที่ง่ายๆ
                       ผู้เรียนมีการโต้ตอบ ปฏิสัมพันธ์กับคอมพิวเตอร์ และบทเรียนฯ มีโอกาสเลือก      ตัดสินใจและได้รับการเสริมแรงจากการได้รับข้อมูลย้อนกลับทันที ช่วยให้ผู้เรียนมีความคงทนในการเรียนรู้สูง      เพราะมีโอกาสปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ซึ่งจะเรียนรู้ได้จากขั้นตอนที่ง่ายไปหายากตามลำดับ      ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามความสนใจ และความสามารถของตนเอง บทเรียนมีความยืดหยุ่น      สามารถเรียนซ้ำได้ตามที่ต้องการ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบต่อคนเอง ต้องควบคุมการเรียนด้วยตนเอง      มีการแก้ปัญหา และฝึกคิดอย่างมีเหตุผล สร้างความพึงพอใจแก่ผู้เรียน เกิดทัศนคติที่ดีต่อการเรียน
                       สามารถรับรู้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้อย่างรวดเร็ว เป็นการท้าทายผู้เรียน และเสริมแรงให้อยากเรียนต่อให้ครูมีเวลามากขึ้นที่จะช่วยเหลือผู้เรียนในการเสริมความรู้ หรือช่วยผู้เรียนคนอื่นที่เรียนก่อน ประหยัดเวลา      และงบประมาณในการจัดการเรียนการสอน โดยลดความจำเป็นที่จะต้องใช้ครูที่มีประสบการณ์สูง      หรือเครื่องมือราคาแพง เครื่องมืออันตราย ลดช่องว่างการเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนในเมือง
     และชนบทเพราะสามารถส่งบทเรียนฯไปยังโรงเรียนชนบทให้เรียนรู้ได้ด้วย

วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สื่ออิเล็กทรอนิกส์ คืออะไร?

สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic media) หมายถึง สื่อที่บันทึกสารสนเทศด้วย วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์อาจอยู่ในรูปของ สื่อบันทึกข้อมูลประเภทสารแม่เหล็ก เช่น แผ่นจานแม่เหล็กชนิดอ่อน (floppy  disk) และสื่อประเภทจานแสง (optical  disk) บันทึกอักขระแบบดิจิตอลไม่สามารถอ่านได้ด้วยตาเปล่า ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์บันทึกและอ่านข้อมูล
 ที่นี้ เราลองมาพิจารณาถึง ข้อดี-ข้อเสีย ของสื่อประเภทนี้ว่า เป็นอย่างไรบ้างเพื่อจะได้เป็นแนวทางในการนำมาใช้ประกอบในการเรียนการสอนและการฝึกอบรมและจะได้นำมาเป็นแนวทางในการออกแบบและสร้างสื่อประเภทนี้ ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

ข้อดี-ข้อจำกัด
ข้อดี
  1. ขยายขอบเขตของการเรียนรู้ของผู้เรียนในทุกหนทุกแห่ง จากห้องเรียนปกติไปยังบ้าน และที่ทำงาน ทำให้ไม่เสียเวลาในการเดินทาง
  2. ขยายโอกาสทางการศึกษาให้ผู้เรียนรอบโลกในสถานศึกษาต่าง ๆ ที่ร่วมมือกันได้มีโอกาสเรียนรู้พร้อมกัน
  3. ผู้เรียนควบคุมการเรียนตามความต้องการ และความสามารถของตนอง
  4. การสื่อสารโดยใช้ อีเมล์ กระดานข่าว การพูดคุยสด ฯลฯ ทำให้การเรียนรู้มีชีวิตชีวาขึ้นกว่าเดิม ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนช่วยเหลือกันในการเรียน
  5. กระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักการสื่อสารในสังคม และก่อให้เกิดการเรียนแบบร่วมมือ ซึ่งที่จริงแล้ว การเรียนแบบร่วมมือสามารถขยายขอบเขตจากห้องเรียนหนึ่งไปยังห้องเรียนอื่น ๆ ได้โดยการเชื่อมต่อทางอินเทอร์เน็ต
  6. การเรียนด้วยสื่อหลายมิติทำให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเนื้อหาได้ตามสะดวกโดยไม่ต้องรียงลำดับกัน
  7. ข้อมูลของหลักสูตรและเนื้อหารายวิชาสามารถหาได้โดยง่าย
  8. การเรียนการสอนมีให้เลือกทั้งแบบประสานเวลา คือเรียน และพบกับผู้สอนเพื่อปรึกษา หรือถามปัญหาได้ในเวลาเดียวกัน (Synchronous) และแบบต่างเวลา (Asynchronous) คือเรียนจากเนื้อหาในเว็บ และติดต่อผู้สอนทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
  9. ส่งเสริมแนวคิดในเรื่องของการเรียนรู้ตลอดชีวิต เนื่องจากเว็บเป็นแหล่งความรู้ที่เปิดกว้างให้ผู้ที่ต้องการศึกษาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง สามารถเข้ามาค้นคว้าหาความรู้ได้อย่างต่อเนื่อง และตลอดเวลา การสอนบนเว็บตอบสนองต่อผู้เรียนที่มีความใฝ่รู้ รวมทั้งมีทักษะ ในการตรวจสอบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Meta-Cognitive Skills) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  10. การสอนบนเว็บเป็นวิธีที่ดีเยี่ยมในการให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ของสถานการณ์จำลอง ทั้งนี้เพราะสามารถใช้ข้อความ ภาพนิ่ง เสียง  ภาพเคลื่อนไหว วิดีโอ ภาพ 3 มิติ ในลักษณะที่ใกล้เคียงกับชีวิตจริงได้
ข้อจำกัด
  1. การออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นยังมีน้อย เมื่อเทียบกับการออกแบบโปรแกรมเพื่อใช้ในวงการ อื่น ๆ ทำให้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีจำนวน และขอบเขตจำกัดที่จะนำมาใช้เรียนในวิชาต่างๆ
  2. การที่จะให้ผู้สอนเป็นผู้ออกแบบโปรแกรมบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเองนั้น นับว่าเป็นงานที่ต้องอาศัยเวลา สติปัญญา และความสามารถเป็นอย่างยิ่ง ทำให้เป็นการเพิ่มภาระของผู้สอนให้มีมากยิ่งขึ้น
  3. เนื่องจากบทเรียนคอมพิวเตอร์เป็นการวางโปรแกรมบทเรียนไว้ล่วงหน้า จึงมีลำดับขั้นตอนในการสอนทุกอย่างตามที่วางไว้ ดังนั้น การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน จึงไม่สามารถช่วยในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนได้
  4. ผู้เรียนบางคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่ อาจจะไม่ชอบโปรแกรมที่เรียงตามขั้นตอน ทำให้เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้ได้
แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามเทคโนโลยีการสื่อสารในปัจจุบัน

        เทคโนโลยีการศึกษาปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic) เข้ามาใช้อย่างมากมาย เครื่องมืออุปกรณ์และเทคนิควิธีการสมัยใหม่ถูกนำมาใช้ทางการศึกษาจนกลายเป็นยุคของอีเลินนิ่ง (e-Learning) และให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้มากกว่า Learning by doing หรือ Learning how to learn ตามแนวคิดของ Instructional Technology ในอดีต

         บทความนี้ไม่มีเรื่องเพศเข้ามาปะปน หมายถึงไม่เกี่ยวกับอี ในคำไทยที่เรียกคำนำหน้าผู้หญิงในอดีต ซึ่งอาจจะมองเป็นคำหยาบในปัจจุบัน ไม่เกี่ยวกับ ไอ้ ในคำไทยที่เรียกคำนำหน้าผู้ชายในอดีต ซึ่งมองเป็นคำสามัญในปัจจุบันที่เรียกขานผู้ชาย แต่ผู้เขียนต้องการเล่นคำและความหมายของคำสำคัญสองคำที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการศึกษาในปัจจุบัน เปรียบเทียบกับเทคโนโลยีการศึกษาในอดีต ต้องการให้ผู้อ่านเห็นวิวัฒนาการและยอมรับการเข้ามาอย่างมากมายของเทคโนโลยีการศึกษายุคอี (Electronic) ขณะที่คำอันเป็นแนวทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาในอดีตก็จะใช้กลุ่มคำ ประเภทไอ (Instruction) ที่มาจากการเริ่มต้นนับแต่ Programme Instruction ของสกินเนอร์

ยุคที่ผ่านมาของเทคโนโลยีการศึกษา
             เทคโนโลยีการศึกษาของไทยแต่เดิมจะถือได้ว่าเริ่มต้นมาตั้งแต่เอ (Audio Visual) ที่ตีความหมายเป็นภาษาไทยว่า โสตทัศนศึกษา ขณะที่ในต่างประเทศการเรียนการสอนของเทคโนโลยีการศึกษาจะเน้นไปที่ไอ (Instructional) และพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาก็ดำเนินแนวทางไปในแนวทางการพัฒนาระบบการเรียนการสอนทั้งสิ้น โดยมีแนวคิดพื้นฐาน Programme Instruction เรียกในภาษาไทยว่า บทเรียนโปรแกรม ซึ่งกว่าได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการนำเอาเทคนิควิธีการและเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาประยุกต์ใช้ทางการศึกษา เป็นจุดเริ่มต้นของการเปิดสอนสาขานี้ที่เรียกชื่อแตกต่างกันไป
             Instructional System Technology : IST เรียกในภาษาไทยว่า เทคโนโลยีระบบการสอน เป็นชื่อสาขาวิชาทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาในหลายมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในต่างประเทศ เช่น มหาวิทยาลัยอินเดียน่า วิทยาเขตบลูมมิงตัน ที่มีอาจารย์ระดับปริญญาเอกที่มีชื่อในประเทศไทยหลายท่านจบจากที่นี่ การเรียนการสอนเน้นการออกแบบ วิจัยและพัฒนาระบบการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ
             Instructional System Design : ISD เรียกตรงตัวได้ว่า การออกแบบระบบการเรียนสอน อันเป็นแกนหลักของสาขาเทคโนโลยีการศึกษา ผู้เรียนในสาขานี้ไม่ว่าจะเรียกชื่อแตกต่างกันไปอย่างไรก็ตามจะต้องเรียนรู้และศึกษาวิธีการในการออกแบบการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างกระบวนการคิดและการออกแบบพัฒนาการเรียนการสอนอย่างเป็นกระบวนการ เป็นระบบและมีขั้นตอน
             Instructional Design : ID เรียกตรงตัวได้เช่นเดียวกันว่า การออกแบบการสอน เป็นความหมายเดียวกันกับ ISD เป็นวิชาหลักหรือแกนหลักของสาขาเทคโนโลยีการศึกษาเช่นกัน
             Instructional Technology เทคโนโลยีการสอนเป็นชื่อที่เรียกขานสาขาและภาควิชาหลาย ๆ แห่ง เนื่องจากเทคโนโลยีการศึกษาถูกมองในลักษณะของการใช้นำเอาเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการเรียนการสอน จึงมีการใช้คำว่าเทคโนโลยีการสอนเพื่อเฉพาะเจาะจง และเป็นสาขาที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางและเปิดสอนในมหาวิทยาลัยโดยทั่วไป
             Intelligence Computer-Assisted Instruction : ICAI คอมพิวเตอร์ช่วยสอนอัจฉริยะ เป็นแนวคิดสูงสุดของนักเทคโนโลยีการศึกษาที่เชื่อว่า เมื่อพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปจนสามารถทำให้คอมพิวเตอร์ฉลาดได้เหมือนกับคนและตอบสนองต่อการเรียนรู้ได้ดังใจปรารถนา เหมือนกับมีครูผู้เชี่ยวชาญมาสอน บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนก็จะเป็นคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบอัจฉริยะ ซึ่งก็ยังไปไม่ถึงในปัจจุบัน
IMCAI : Interactive Multimedia Computer-Assisted Instruction เป็นอีกแนวคิดหนึ่งของนักเทคโนโลยีการศึกษา ที่เมื่อมองเห็นว่าคอมพิวเตอร์ช่วยสอนยังไปไม่ถึงระดับอัจฉริยะก็มองว่า ความเป็นมัลติมีเดียของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ก็มีศักยภาพเพียงพอสำหรับช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ ก็เป็นอีกแนวคิดหนึ่งที่ได้รับการยอมรับ
             Information Technology แม้จะมองว่ากลายเป็นอีกศาสตร์หนึ่งที่ถูกจัดกลุ่มใหม่และตั้งเป็นสาขาและศาสตร์ของตนเอง แต่เทคโนโลยีสารสนเทศก็ยังต้องจัดเป็นสิ่งที่นักเทคโนโลยีการศึกษายอมรับและเข้ามาใช้อย่างเต็มที่ ถือเป็นหน่วยหนึ่งที่จะต้องเรียนรู้และประยุกต์เข้ามาใช้ทางการศึกษาและเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ทำให้ยุคของไอ เริ่มลดบทบาทและความสำคัญลง จนถึงถูกมองว่าเทคโนโลยีการศึกษาเข้าสู่ยุคของอีในปัจจุบัน
             Internet การเข้ามาของอินเทอร์เน็ตกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญอีกครั้งหนึ่งของเทคโนโลยีการศึกษา การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันทั้งโลก ข้อมูลข่าวสารที่หลั่งไหลผ่านทางด่วนข้อมูล (Information Super Highway) การสื่อสารโดยตรงไม่ว่าจะเป็นด้วย IRC : Internet Relay Chat ,ICQ ทำให้เทคโนโลยีการศึกษาต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดและการจัดการนวัตกรรมเพื่อให้ทันกับการเข้าสู่ยุคที่เรียกว่า อีเลินนิ่ง การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-based Instruction) ที่นำเอาเว็บมาช่วยในการสอนกลายเป็นประเด็นใหม่ที่ต้องศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง และนำเทคโนโลยีการศึกษาเข้าสู่ยุคอีในที่สุด

ยุคเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษา
             แนวโน้มการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงแนวคิดจากการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถทางสติปัญญาสูงขึ้นหรือเพิ่มไอคิว (IQ) มาเป็นการส่งเสริมผู้เรียนให้มีความฉลาดทางอารมย์ (EQ) เรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข เทคโนโลยีที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของยุคอี อาทิ คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต วีดิโอคอนเฟอเรนท์ มัลติมีเดีย ดาวเทียมเพื่อการศึกษา ฯลฯ ล้วนเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เข้ามามีบทบาทอย่างยิ่งต่อระบบการศึกษา นำเข้ามาใช้ไม่เฉพาะการติดต่อสื่อสารแต่นำมาใช้เพื่อการเรียนรู้คือที่เรียกกันในปัจจุบันว่า อี-เลินนิ่ง
             e-Learning อีเลินนิ่งหรือ Electronic Learning อาจจะดูเป็นแนวคิดทางการศึกษาแบบใหม่ ที่เกิดขึ้นจากความก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ทำให้เกิดการเรียนการสอนระบบต่าง ๆ และมีชื่อเรียกขานแตกต่างกันไปไม่ว่าจะเป็น การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-based Instruction),การเรียนการสอนออนไลน์ (On-line Learning), การเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต (Internet-based Instruction) หรือแม้แต่จะเรียกว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเว็บ (CAI on Web) แต่ละแบบจัดเป็นรูปแบบของการเรียนรู้ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น
             ความหมายของอีเลินนิ่งมีมุมมองที่แตกต่างกันไปหลายความหมาย สมาคมอเมริกันเพื่อการพัฒนาการฝึกอบรม (ASTD, 2000) ได้อธิบายความหมายเอาไว้ด้วยกัน 3 ลักษณะคือ

ความหมายทางด้านอิเล็กทรอนิกส์
             e-Learning หมายถึง กระบวนการและการใช้ประโยชน์จากการเรียนการสอนผ่านเว็บ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ห้องเรียนเสมือน และการเรียนร่วมมือด้วยเครื่องมือดิจิตอลต่าง ๆ รวมถึงการเรียนผ่านระบบอินเทอร์เน็ต,ระบบอินทราเน็ต ระบบเครือข่าย การเรียนด้วยระบบเสียง ระบบภาพ ระบบดาวเทียม ระบบโทรทัศน์ และซีดีรอม

ความหมายทางด้านอินเทอร์เน็ต
             e-Learning หมายถึง การเรียนรู้ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต หรือการใช้ความสามารถของระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้

ความหมายทั่วไป
             e-Learning หมายถึง การบูรณาการทางการศึกษาที่ไม่ยึดติดกับเวลาและความก้าวหน้าในการเรียนรู้
             เมื่อประมวลความหมายของทั้ง 3 ลักษณะเข้าด้วยกัน สอดคล้องกับแนวคิดและบริบทในปัจจุบันกล่าวได้ว่า
             e-Learning หมายถึง การจัดกระบวนการและการใช้ประโยชน์จากสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์และระบบอินเทอร์เน็ต ที่ออกแบบการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ทุกที่ไม่ยึดติดกับเวลาและความก้าวหน้าในการเรียนรู้
             จึงทำให้มีความพยายามพัฒนาการเรียนการสอนแบบออนไลน์มากขึ้น ซึ่งการสร้างเว็บเพื่อการเรียนการสอนก็เป็นส่วนหนึ่งของ e-Learing เมื่ออินเทอร์เน็ตมีการใช้งานอย่างกว้างขวางและเห็นความสำคัญมากขึ้น ก็ถูกนำไปใช้ในวงการต่าง ๆ ยุคของอีก็ยิ่งแพร่ขยายและมีความสำคัญมากขึ้นตามลำดับ ถึงขนาดที่รัฐบาลประกาศเป็นนโยบายที่จะนำการบริหารในลักษณะที่เป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) และนำระบบราชการไปสู่อี-ไทยแลนด์ (e-Thailand) และเชื่อมโยงระหว่างรัฐบาลแต่ละประเทศโดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียนให้เป็นอี-อาเซียน (e-ASIAN)

e-book

ความหมายของ e-Book
     e-Book คือ หนังสือหรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้อ่านสามารถอ่านผ่านอินเทอร์เน็ต หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ พกพาอื่นๆ ได้ สำหรับหนังสือหรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์นี้ จะมีความหมายรวมถึงเนื้อหาที่ถูกดัดแปลงอยู่ในรูปแบบที่สามารถแสดงผลออกมาได้โดยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ แต่ก็ให้มีลักษณะการนำเสนอที่สอดคล้องและคล้ายคลึงกับการอ่านหนังสือทั่วๆ ไปในชีวิตประจำวัน แต่จะมีลักษณะพิเศษ คือ สะดวกและรวดเร็วในการค้นหา และผู้อ่านสามารถอ่านพร้อมๆ กัน ได้โดยที่ไม่ต้องรอให้อีกฝ่ายส่งคืนห้องสมุด เช่นเดียวกับหนังสือในห้องสมุดทั่วๆ ไป

   ประโยชน์ของ e-Book
     สำหรับผู้อ่าน
       1. ขั้นตอนง่ายในการอ่าน และค้นหาหนังสือ
       2. ไม่เปลืองเนื้อที่ในการเก็บหนังสือ
       3. อ่านหนังสือได้จากทุกที่ที่มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

     สำหรับห้องสมุด
       1. สะดวกในการให้บริการหนังสือ
       2. ไม่ต้องใช้สถานที่มากในการจัดเก็บหนังสือ และไม่เสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้
       3. ลดงานที่เกิดจากการซ่อม จัดเก็บ และการจัดเรียงหนังสือ
       4. ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานมาดูแลและซ่อมแซมหนังสือ
       5. มีรายงานแสดงการเข้ามาอ่านหนังสือ

     สำหรับสำนักพิมพ์และผู้เขียน
       1. ลดขั้นตอนในการจัดทำหนังสือ
       2. ลดค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงในการจัดพิมพ์หนังสือ
       3. ลดค่าใช้จ่ายในการจัดจำหน่ายผ่านช่องทางอื่นๆ
       4. เพิ่มช่องทางในการจำหน่ายหนังสือ
       5. เพิ่มช่องทางในการประชาสัมพันธ์ตรงถึงผู้อ่าน

   โปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง e-Book และ e-Magazine
     โปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง e-book มีอยู่หลายโปรแกรม แต่ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่
       1. โปรแกร Flip Album
       2. โปรแกรม Desktop Author
       3. โปรแกรม Flash Album Deluxe
      
       ชุดโปรแกรมทั้ง 3 จะต้องติดตั้งโปรแกรมสำหรับอ่าน e-Book ด้วย ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถเปิดเอกสารได้
ซึ่งประกอบด้วยโปรแกรมดังต่อไปนี้
         1. โปรแกรม Flip Album โปรแกรมสำหรับอ่านคือ Flip Viewer
         2. โปรแกรม Desktop Authoor โปรแกรมสำหรับอ่านคือ DNL Reader
         3. โปรแกรม Flash Album Deluxe
     
       โปรแกรม Flash Album เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการจัดทำสื่อ e-Book ที่สามารถใส่เนื้อหาและรูปแบบต่างๆ ได้ นอกจากนี้ยังสามารถตกแต่ง e-Book ให่สวยงามด้วยลูกเล่นต่างๆ ของโปรแกรมได้อีกด้วย

   การสร้าง e-Book ด้วย Flip Album
     e-Book หรือ Electronic Book ในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนารูปลักษณ์และเอกลักษณ์ให้หน้าสนใจ อีกทั้ง          มีลักษณะคล้ายกับหนังสือจริงๆ โดยเราสามารถสร้าง e-Book ได้จากหลายโปรแกรม หนึ่งในนั้นคือโปรแกรม        
Flip Album (สามารถดาวน์โหลดรุ่นทดลองใช้จากเว็บไซต์ http:www.flipalbum.com/products/fat/) ซึ่งข้อมูลที่สามารถใส่ลงในโปรแกรม Flip Album ได้ มีทั้งเป็นข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หรือแม้กระทั่งไฟล์วีดีโอ และไฟล์เสียง ดังนั้น ควรจัดเตรียมข้อมูลทั้งหมดให้เสร็จเรียบร้อยก่อน แล้วจัดเก็บรวมกันไว้ใน Folder ที่ต้องการ สร้าง เพื่อความสะดวกในการจัดทำ e-Book

   การสร้าง e-Book ด้วยโปรแกรมการบริหารจัดการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ผ่านเว็บไซต์
     เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับอ่านบนเว็บ ได้อย่างรวดเร็วด้วยโปรแกรมจัดการหนังสือผ่านเว็บไซต์ซึ่งเป็นโปรแกรมจัดการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์( E-Magazine)โดยการนำเข้าไฟล์ในรูปแบบ Acrobat นำเข้าผ่านทางเว็บไซต์ได้ทันที เท่านี้ก็สามารถเผยแพร่ได้แล้ว

      จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่า การสร้างหนังสือหรือนิตยสารอิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถอ่านได้บนเว็บไซต์ หรือในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนสำหรับ e-Learning มีโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างสื่อการเรียนการสอนหลายโปรแกรม แต่ที่ได้รับความนิยม คือ โปรแกรม Lecture Maker และ Flip Album ซึ่งเป็นโปรแกรมที่สามารถพัฒนาสื่อการเรียนการสอนบนเว็บได้อย่างมีคุณภาพ และเป็นรูปแบบมัลติมีเดีย ที่นำเสนอได้ทั้งภาพ เสียง และให้ผู้เรียนได้โตตอบ อีกทั้ง ยังมีประสิทธิภาพสูงในการใช้งานอีกด้วย และที่นิยมมากขณะนี้คือโปรแกรมบริหารจัดการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ผ่านเว็บในรูปแบบ E-Magazine นั่นเอง รายละเอียดจะกล่าวในโอกาสต่อไป

ประเภทของสื่อการสอน

สื่อการเรียนรู้ที่คุณครูออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษา หรือสื่อการเรียนรู้ทั่วๆ ไป เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนรู้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักเรียน สามารถจำแนกได้ ดังนี้
   1. สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือพิมพ์ รายงาน นิตยสารหนังสือเรียน  การ์ตูน เอกสารประกอบการสอน บทเรียนต่างๆ
   2. สื่อเทคโนโลยี  ได้แก่  สื่อการเรียนรู้ที่ได้ผลิตขึ้นเพื่อใช้
ควบคู่กับเครื่องมือโสตทัศนวัสดุ  หรือเครื่องมือที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น วีดิทัศน์ แถบบันทึกเสียง สไลด์ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 
นอกจากนี้ยังรวมถึงกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน เช่น การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการเรียน
การสอน  การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม    
   3. สื่ออื่นๆ เช่น
       บุคคลที่มีความรู้ความชำนาญในสาขาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนักการศึกษา ศิลปิน นักการเมือง นักธุรกิจ ชาวนา ช่างซ่อม ฯลฯ
       กิจกรรมเทคนิควิธีการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน เช่น เกม เพลง สถานการณ์จำลอง การทัศนศึกษา การทำโครงงาน บทบาทสมมติ ฯลฯ
       แหล่งการเรียนรู้ สิ่งแวดล้อม สถานที่สำคัญที่ควรศึกษา เช่น อินเตอร์เน็ต ห้องสมุด ศูนย์การเรียนรู้ โรงงาน สถานประกอบการ สถานที่ทางประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ สำนักงาน ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ ฯลฯ
       วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ 
   4. สื่อประสม (Multimedia) นักเทคโนโลยีทางการศึกษา แบ่งสื่อประสมออกเป็น 2 ความหมาย คือ
      4.1 เป็นสื่อประสมที่นำสื่อหลายประเภทมาใช้ร่วมกันในการเรียนการสอน เช่น นำวีดิทัศน์มาใช้ประกอบการบรรยายและมีสื่อสิ่งพิมพ์ประกอบด้วย หรือ การใช้ชุดการเรียนหรือชุดการสอน มีลักษณะเป็น "สื่อหลายแบบ" ตามศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถาน การใช้สื่อประสมลักษณะนี้ผู้เรียนและสื่อจะไม่มีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกัน
      4.2 เป็นสื่อประสมที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเสนอสารสนเทศ หรือ การผลิตเพื่อเสนอข้อมูลประเภทต่างๆ เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ตัวอักษร และเสียงในลักษณะของสื่อหลายมิติ โดยที่ผู้ใช้มีการตอบโต้กับสื่อโดยตรง เราสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในสื่อประสมนี้ได้ 2 ลักษณะ คือ
           ใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเสนอสารสนเทศ โดยการควบคุมอุปกรณ์ร่วมต่างๆ ในการทำงาน ได้แก่ การเสนอในรูปแบบของแผ่นวีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ การใช้ลักษณะนี้คอมพิวเตอร์จะเป็นตัวกลางในการควบคุมการทำงานของเครื่องเล่นวีดิทัศน์  และเครื่องเล่นซีดี-รอมให้เสนอภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวตามเนื้อหาบทเรียน
           ใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการผลิตแฟ้มสื่อประสม โดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ต่างๆ เช่น Toolbook Authorwareซึ่งโปรแกรมสำเร็จรูปจะช่วยในการผลิตแฟ้ม บทเรียน หรือการเสนองานในลักษณะสื่อหลายมิติ โดยแต่ละแฟ้มจะมีเนื้อหาในลักษณะตัวอักษรภาพกราฟิก  ภาพเคลื่อนไหว เสียง รวมอยู่ในแฟ้มเดียวกัน ผู้ใช้เพียงแต่เปิดแฟ้มเพื่อเรียนหรือเสนองานตามโปรแกรมที่ได้จัดทำไว้ก็จะได้เรียนรู้เนื้อหาอย่างครบถ้วน  
                                                                                            "ครูปุ๊ก"
                                                  อ้างอิงข้อมูลจาก       http://se-ed.net/thaimedia013        

องค์ประกอบของเทคโนโลยีสื่อประสม

สื่อประสม

สื่อประสม (Multimedia)
ในปัจจุบันนี้ บทบาทของไมโครคอมพิวเตอร์นับวันจะมีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของการดำเนินธุรกิจ การศึกษา หรืออื่น ๆ บริษัทผู้ผลิตจะมีการผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงในราคาต่ำ ปัจจัยต่างๆ ที่มีผลทำให้การเติบโตของตลาดพีซีเป็นไปอย่างรวดเร็วนั้น ได้แก่ ความสามารถของเครื่องพีซีที่เพิ่มมากขึ้น การใช้เครื่องพีซีในปัจจุบันไม่จำกัดอยู่กับซอฟต์แวร์ที่ง่ายๆ อย่างเช่น เวิร์ดโปรเซสซึ่งอีกต่อไป มีซอฟต์แวร์ประยุกต์มากมายที่สนับสนุนการทำงานให้มีความนิยมใช้มากขึ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถของการทำงานของพีซีเอง เมื่อใช้ร่วมกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่มีความซับซ้อน ทำให้สามารถทำงานที่ซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความสามารถของไมโครคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ได้หลายระบบ ไม่ว่าจะใช้ในลักษณะที่เป็นเครื่องเดียวหรือติดตั้งในลักษณะที่เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ความสามารถในการใช้สื่อต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ปัจจุบันสามารถที่จะผสมผสานสื่อต่างๆ เช่น ภาพ เสียง วิดีโอ ฮาร์ดดิสก์ จอภาพ ทำให้มีการประยุกต์ใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น ระบบคอมพิวเตอร์สื่อประสมนับว่าเป็นสิ่งที่ทำให้การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์สื่อประสม
สื่อประสมเป็นการนำคอมพิวเตอร์มาควบคุมสื่อต่างๆ เพื่อให้ทำงานร่วมกันในลักษณะของการผสมผสานอย่างเป็นระบบ เช่น อาจสร้างโปรแกรมให้มีการนำเสนองานที่เป็นข้อความ มีการเคลื่อนไหวจากวิดีโอประกอบ หรือมีเสียงบรรยายสลับกันไป

เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสื่อประสม

สื่อประสมไม่ใช่เทคโนโลยีเดี่ยวเพียงลำพัง แต่ระบบคอมพิวเตอร์สื่อประสมนั้น
เป็นการรวมเทคโนโลยีหลายอย่างเข้าด้วยกัน เพื่อทำให้เกิดความสมบูรณ์ในการทำงานเทคโนโลยีเหล่านั้นได้แก่

1. เทคโนโลยีการบันทึกข้อมูล
2. เทคโนโลยีการย่อขนาดข้อมูล
3. เทคโนโลยีไมโครคอมพิวเตอร์
4. เทคโนโลยีจอภาพ
5. เทคโนโลยีอุปกรณ์ป้อนข้อมูล
6. เทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์เครือข่าย
7. เทคโนโลยีซอฟต์แวร์
8. เทคโนโลยีการสื่อความหมาย ข้อมูลนำเสนอ และวิธีการ
ารพิจารณาเลือกซอฟต์แวร์เพื่อสร้างสรรค์งานด้านสื่อประสม ดังนี้
1. ความง่ายในการใช้งาน
2. ความสามารถในการนำเสนอ
3. ความสามารถในการติดต่อกับผู้ใช้
4. ความสามารถในการใช้ตัวแปรและฟังก์ชันในการคำนวณและประมวลผล
5. ความสามารถในการใช้งานร่วมกับโปรแกรมอื่น ๆ
6. ความสามารถในการทำงานเอกสารประกอบโปรแกรม
7. ความสามารถในการส่งแอพพลิเคชั่นที่เสร็จแล้วให้ผู้
8. ความสามารถในการนำแอพพลิเคชั่นไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ
Multimedia Personal Computer <MPC>

บริษัท IBM และบริษัท Microsoft Inc. ได้ร่วมมือของบริษัทฮาร์ดแวร์อีก
หลายบริษัท กำหนดเป็นมาตรฐานที่เรียกว่า Multimedia Pernonal Computer หรือ MPC โดย MPCกำหนดคุณลักษณะของฮาร์ดแวร์ได้ดังนี้
1. CPU ต้องมีความเร็วไม่น้อยกว่า 10 MHz ต้องเป็นเครื่อง 80286 80386
หรือ 80486 ที่สามารถติดตั้งและใช้งานโปรแกรม Microsoft Windows ได้
2. มีหน่วยความจำอย่างน้อย 2 MB
3. การ์ดแสดงผลเป็นการ์ด VGA ที่มีขนาดข้อมูลเป็น 4 หรือ 8 บิท
4. มี Digital Audio Subsystem
5. มีฮาร์ดดิสก์อย่างน้อย 30 MB
6. มีเครื่องอ่าน CD-ROMs


อ้างอิง  http://vod.msu.ac.th/0503409/4_1.htm

วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

รูปแบบการสอนและการฝึกอบรม

(Teaching/Learning Model) หรือ ระบบการสอน คือโครงสร้างองค์ประกอบการดำเนินการสอนที่ได้รับการจัดเป็นระบบสัมพันธ์สอดคล้องกับทฤษฏี หลักการเรียนรู้หรือการสอนที่รูปแบบนั้นยึดถือและได้รับการพิสูจน์ และทดสอบแล้วว่ามีประสิทธิภาพ  สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายเฉพาะของรูปแบบนั้น ๆ  โดยทั่วไปแบบแผน การดำเนินการสอนดังกล่าวมักประกอบด้วย  ทฤษฏีหลักการที่รูปแบบนั้นยึดถือ  และกระบวนการสอนที่มีลักษณะเฉพาะอันจะนำผู้เรียนไปสู่จุดมุ่งหมายเฉพาะรูปแบบนั้นกำหนด  ซึ่งผู้สอนสามารถนำไปใช้เป็นแบบแผนหรือแบบอย่างในการจัด และดำเนินการสอนอื่น ๆ ที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะเช่นเดียวกันได้ในการฝึกอบรมก็เช่นกัน รูปแบบการฝึกที่นำมาใช้นั้นขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม หรือการมุ่งเน้นเป็นสำคัญในการฝึกอบรมว่าต้องการให้ผู้เรียนหรือผู้มารับการฝึกอบรมเปลี่ยนแปลพฤติกรรมด้านใดเป็นสำคัญ หากการฝึกอบรมนั้นต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านทักษะ หรือทางร่างกายซึ่งจะต้องแสดงออกมาให้เห็นตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร หรือเกณฑ์ที่กำหนดในมาตรฐานใดๆ ก็ตาม รูปแบบการฝึกควรใช้รูปแบบที่งายต่อการประเมินพฤติกรรม เช่น รูปแบบการฝึกอบรมที่เน้นทักษะพิสัย ซึ่งจะจัดการเรียนการสอนหรือฝึกอบรมที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกประสบการณ์จริงในงานภายใต้เงื่อนไขและสภาพแวดล้อมที่สอดคล้องกับการทำงานในสถานประกอบการจริงหรือมีความใกล้เคียงกับการทำงานจริงในสถานประกอบการและมีการควบคุมอย่างเหมาะสม..
และเมื่อเราเลือกรูปแบบการฝึกที่เหมาะสมแล้ว ขั้นต่อไปเป็นการเลือกเทคโนโลยีการฝึก อันประกอบไปด้วยเทคนิค และระเบียบวิธีการฝึกที่สัมพันธ์กันกับรูปแบบการฝึก เช่น หากเราเลือกรูปแบการฝึกที่เน้นทักษะพิสัย(Skill Oriented)  เทคนิคและระเบียบวิธีการฝึกในหลักสูตรหรือหน่วยการฝึกนั้นๆ ก็ต้องเลือกเทคนิคการฝึกที่เน้นการปฏิบัติอย่างเป็นระเบียบขั้นตอนตามอาชีพหรืองานนั้นๆ ที่เกิดขึ้นจริงในสถานประกอบการ หรือ เวลาปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรม
      ดังนั้นเหตุนี้จึงต้องให้ผู้เชี่ยวชาญในงานนั้นๆ ที่มีประสบการณ์เพียงพอเป็นผู้กำหนดลักษณะ ขั้นตอนในการปฏิบัติงาน รวมถึงการวิเคราะห์ทักษะ(Skill)ที่ต้องใช้ ความรู้(Knowledge)ที่ใช้ประกอบเพื่อส่งเสริมให้การปฏิบัติงานเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด รวมถึงลักษณะเฉพาะบุคคล(Attibute)อันเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในตำแหน่งหรืออาชีพนั้นๆ ประกอบกัน

ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการฝึกและเทคนิค ระเบียบวิธีการฝึก(Methodology and Technique) จากที่กล่าวมาสามารถจิตนาการโครงสร้างความคิด ได้ดังต่อไปนี้


alt src=http://home.dsd.go.th/techno/trainingsystem/images/stories/trainingmodel%20vs%20methodology.png

จากโครงสร้างแนวคิดนี้ พออสรุปขั้นตอนได้ดังนี้

หลังจากที่ผู้รับการฝึก(Trainee) ผ่านการแนะแนวการฝึก และรู้หน่วยการฝึกหรือหลักสูตรที่ตนเองฝึกแล้ว ครูฝึกหรือผู้ทำการฝึกต้องดำเนินการดังนี้

1. นำหน่วยการฝึก หรือหลักสูตรการฝึกมาพิจารณาวัตถุประสงค์ปลายทาง หรือสมรรถนะปลายทาง (Outcome) เพื่อพิจารณาเลือกรูปแบบการฝึก (Training Model) เช่น หากผลลัพธ์ปลายทางที่ต้องการคือด้านทักษะ ความสามารถทางร่างกาย เช่น ผู้รับการฝึกจะต้องเดินสายไฟฟ้าภายในอาคาร ที่มีระยะทาง 10 เมตร พร้อมติดตั้งระบบไฟฟ้าแสงสว่างโดยใช้สวิตซ์ 2 ทาง ไปตามทางเดินบรรไดเพื่อให้แสงสว่างในยามค่ำคืน. ครูฝึกหรือผู้เชี่ยวชาญจะต้องเลือกรูปแบบการฝึกที่เน้นสมรรถนะ(Competency-based Training)

2. เมื่อเลือกรูปแบบการฝึกสอดคล้องกับสมรรถนะปลายทางของหน่วยการฝึก หรือ หลักสูตรการฝึกแล้ว คือรูปแบบการฝึกที่เน้นสมรรถนะ(Competency-based Training)

3. ครูฝึก หรือผู้เชี่ยวชาญต้องเลือกเทคโนโลยีการฝึก ซึ่งประกอบด้วย เทคนิคและ ระเบียบวิธีการฝึก(Methodology) ซึ่งต้องใช้เทคนิคการฝึกอบรมที่เน้นทักษะพิสัย อาจจะใช้ระเบียบวิธีของการเรียนการสอนของอาชีวศึกษาที่เน้นทักษะปฏิบัติสำหรับครูวิชาอาชีพ(นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์,2535) หรือใช้เทคนิควิธีดังต่อไปนี้ในการสอน เช่น เนื่องจากงานที่ต้องฝึกเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าซึ่งเสี่ยงอันตรายหากปฏิบัติผิดพลาด จึงความใช้เทคนิคในการสอนโดย สอนทฤษฎีก่อนฝึกปฏิบัติ เช่น สอนเรื่องความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน สอนการใช้เครื่องมือ หรือ ทฤษฎีความปลอดภัยและมาตรฐานการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า ประเภทปลั๊กสองทางของการไฟฟ้านครหลวง และทำการทดความรู้ เมื่อทุกคนสอบผ่านวัตถุประสงค์ดังกล่าวแล้ว และมีความมั่นใจในความปลอดภัยแล้ว จึงฝึกภาคปฏิบัติต่อไป โดยมีระเบียบวิธีในการฝึกหรือการสอนดังนี้

ระเบียบวิธีการฝึกทักษะปฏิบัติ เรื่อง การเดินสายไฟฟ้าในอาคารและการติดตั้งสวิตซ์สองทาง

1. ขั้นนำ แนะนำงาน กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ และเห็นคุณค่าในงานนั้น

2. ขั้นให้ความรู้ ให้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานที่จะทำ รวมถึงความปลอดภัยในการปฏิบัติงานและการใช้เครื่องมือต่างๆ

3. ขั้นฝึกปฏิบัติ ผู้รับการฝึกลงมือปฏิบัติงาน โดยให้ทำตามแบบ หรือทำตามขั้นตอนที่ถูกต้องและเป็นไปตามมาตรฐาน หรือให้ทำเลียนแบบครู หรือ ให้ลองผิดลองถูกโดยครูฝึกควบคุมอย่างใกล้ชิด เพื่อความปลอดภัย ครูต้องคอยสังเกตแนะนำและให้ข้อมูลย้อนกลับเป็นระยะๆ จนผู้รับการฝึกทำได้ถูกต้อง ให้ทำการฝึกซ้ำๆ หลายครั้งจนชำนาญ

4. ขั้นประเมินผล ผู้รับการฝึกจะได้รับการประเมินทักษะปฏิบัติ และลักษณะนิสัยการทำงาน และความยั่งยืนคงทนในการจำ โดยดูจากความชำนาญ ถ้าชำนาญก็จะจำได้ดี และนาน

ในการปฏิบัติจริงและการฝึกทักษะพิสัย(Skill Oreinted) โดยจะมีขั้นตอนการปฏิบัติงานตามระเบียบวิธีและขั้นตอนการปฏิบัติงานจริงในการติดตั้งและเดินสายไฟฟ้าในอาคาร รวมถึงขั้นต้อนและระเบียบวิธีการติดตั้งสวิซต์สองทางอย่างถูกต้องตามมาตรฐานของการไฟฟ้านครหลวง

และครูฝึกต้องจัดเตรียมเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์การฝึก หรือ สื่อประกอบการฝึก ทั้งภาคทักษะปฏิบัติ และภาคความรู้ซึ่งจะต้องสอดแทรกเข้าไปในการปฏิบัติเสมอ ตามระเบียบวิธีและเทคนิคที่ใช้ในการฝึกทักษะและอบรม ซึ่งในส่วนของเทคโนโยการฝึกหลายประเทศจะใช้แบบ โมดูลการฝึก หมายความว่า เป็นชุดการฝึกที่พร้อมนำไปฝึกในหน่วยการฝึก หรือหลักสูตรการฝึกได้ทันทีทันได ซึ่งในโมดูลการฝึกนั้นๆ มักประกอบไปด้วย หน่วยการฝึก/โมดูล คู่มือแนะนำการฝึก สื่อ วัสดุอุปกรณ์ แนวทางและระเบียบวิธีการสอน ขั้นตอนระเบียบปฏิบัติที่สอดคล้องกับงาน หรือธรรมชาติของอาชีพนั้นๆ ตามมาตรฐานที่กำหนด เช่น มาตรฐานอุสหกรรม หรือ มาตรฐานอาชีพ รวมถึงเกณฑ์การประเมินสมรรถนะและเครื่องมือประเมินด้านต่างๆ เช่น ด้านทักษะความสามารถ ด้านความรู้ ด้านเจตคติ เป็นต้น

และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสถานประกอบการฝึกอบรมเช่นกลุ่มงานที่ดูแลด้านสถานฝึก ต้องมีการออกระเบียบหรือข้อกำหนดการจัดสภาพแวดล้อมการปฏิบัติงานที่ใกล้เคียงหรือ มีสภาพที่สอดคล้องกับสภาพในสถานประกอบการ หรือ อุตสาหกรรมที่ผู้รับการฝึกต้องเผชิญในวันข้างหน้า ซึ่งหมายรวมถึง เครื่องมือเครื่องจักรที่นำมาฝึก และวัสดุต่างๆ เช่น รุ่นของเครื่องจักร เครื่องมือ สภาพแวดล้อม ระบบไฟฟ้าแสงส่วาง ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานและอุณภูมิที่เหมาะสมในการปฏิบัติงาน เป็นต้น

4. ขั้นตอนการฝึก ซึ่งเป็นขั้นการฝึกทักษะตามขั้นตอนการปฏิบัติงานจริงในโรงงานอุตสาหกรรม หรือ สถานประกอบการ ภายใต้สภาพแวดล้อมจริง หรือใกล้เคียงกับสภาพที่ผู้รับการฝึกต้องเผชิญ และสอดคล้องกับระเบียบวิธีและเทคนิคการฝึกที่ครูฝึกต้องใช้ตามที่กล่าวมาแล้ว (ด้านบนในข้อที่3) เมื่อเข้าสู่โลกการทำงาน

5. เป็นขั้นการประเมินความสามารถต่อไป